หวั่นการเมืองไม่นิ่งทำปฏิรูปหลักสูตรสะดุด

พฤษภาคม 10, 2013 เวลา 8:49 pm | เขียนใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

หวั่นการเมืองไม่นิ่งทำปฏิรูปหลักสูตรสะดุด

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2556 เวลา 19:38 น.

วันนี้ ( 8 พ.ค.) รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราแห่งชาติ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการปฏิรูปหลักสูตร ว่า จากการหารือของประธานกลุ่มการเรียนรู้ทั้ง 6 กลุ่ม ที่ประชุมได้ข้อสรุปข้อยุติแล้วว่าจะใช้ 6 กลุ่มนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว แต่รายวิชาต่างๆ ยังอยู่ในระหว่างรวบรวม ซึ่งสามารถลดหรือเพิ่มขึ้นได้ แล้วแต่จะมีผู้เสนอ โดยจะมีกลุ่มคัดกรองโดยใช้หลักของกรอบเวลาในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วงชั้น ซึ่งเบื้องต้นระดับประถมศึกษาจะไม่เกิน 800 ชั่วโมง/ปี มัธยมต้นไม่เกิน 900 ชั่วโมง/ปี และมัธยมปลายไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี  ส่วนเนื้อหาสาระที่จะเรียนรู้ต้องเป็นเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน เพื่อนำไปต่อยอดแสวงหาความรู้  ดังนั้นความรู้ที่ครูสอนในห้องเรียนจะเป็นเครื่องมือสำหรับการต่อยอดเท่านั้้น เช่น กลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) หรือ สเต็ม จะเน้นเรียนรู้แบบการทดลอง กลุ่มการเรียนรู้ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จะเน้นการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน
รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ที่ประชุมได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำและแตกต่างกันของโรงเรียน ชุมชน โดยเฉพาะการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งเครื่องมือต่างๆในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน การจะให้เด็กเรียนรู้ต้องมีเครื่องมือที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น จะต้องดึงศูนย์วิทยาศาสตร์ ของ กศน. และ เปิดห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ให้เด็กได้หมุนเวียนกันเข้าไปใช้อุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ วิธีดังกล่าวจะทำให้เด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล มีเครื่องมือทัดเทียมกับเด็กในเมือง ทั้งนี้จะไม่เน้นการสร้างห้องทดลองใหม่ แต่จะใช้ศูนย์วิทย์ หรือ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ ยกเว้นบางพื้นที่ที่ไม่มีจริงๆ ก็จะมีการจัดสร้างห้องปฏิบัติการฯเพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตามมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ครูผู้สอนซึ่งที่ประชุมคาดว่า อาจต้องใช้เวลา 3 ปีในการอบรม โดยแบ่งครูเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องใช้มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยราชภัฎ ช่วยเป็นแกนหลักในการอบรม และกลุ่มที่อบรมโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูได้ผลระดับหนึ่ง เนื่องจากครูส่วนใหญ่ได้รับการปลูกฝังสอนตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยมาแล้ว ว่า ให้สอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ แต่เมื่อเข้าไปสอนในโรงเรียนก็ถูกกลืนให้สอนแบบท่องจำ ดังนั้นการอบรมก็จะเป็นการช่วยกระตุ้นการสอนแนวใหม่อีกครั้ง
“การปฏิรูปหลักสูตร ต้องใช้เวลา และความจริงจังของฝ่ายการเมือง ซึ่งกรรมการก็มีความกังวล ว่า ประเด็นทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปหลักสูตร หากการเมืองไม่นิ่งและขณะนี้ก็มีแนวโน้มว่าอาจจะยุบสภา ซึ่งจะทำให้การปฏิรูปหลักสูตรชะงัก ดังนั้นที่ประชุมจึงได้หาทางออกโดยจะเสนอเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราแห่งชาติ เป็นการแต่งตั้งโดยมติครม. เพื่อให้กรรมการชุดนี้ทำงานได้ต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล หรือ ยุบสภา”รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามคณะกรรมการทุกกลุ่มการเรียนรู้มีการทำงานกันอย่างเต็มที่ และจะมีการนำเนื้อหาต่างๆของหลักสูตรมาหารือกันวันที่ 10-12 พ.ค.นี้ อีกครั้ง โดยคาดหวังจะสามารถทำประชาพิจารณ์และเตรียมครูได้ปี 2557 และเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ได้ในปี 2558

• ดาวน์โหลดเอกสารสรุปการประชุมสัมมนา ผอ.สพท.ทั่วประเทศ ครั้งที่ 2/56 วันที่ 8-9 พ.ค.56

พฤษภาคม 10, 2013 เวลา 6:03 am | เขียนใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

• ดาวน์โหลดเอกสารสรุปการประชุมสัมมนา ผอ.สพท.ทั่วประเทศ ครั้งที่ 2/56 วันที่ 8-9 พ.ค.56
+โพสต์เมื่อวันที่ : 9 พ.ค. 2556

…..

ดาวน์โหลดเอกสารสรุปการประชุมสัมมนา ผอ.สพท.ทั่วประเทศ ครั้งที่ 2/2556 ระหว่างวันที่ 8 – 9 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมรามา การ์เด้น กรุงเทพมหานคร

  • นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ โดย
    ฯพณฯ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ดาวน์โหลด
  • ร่างนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณพ.ศ.2557  ดาวน์โหลด
  • Educational Policies โดย เลขาธิการ กพฐ.  ดาวน์โหลด
  • การปฏิรูประบบการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21  ดาวน์โหลด
  • รายงานผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณปี 2556  ดาวน์โหลด

ที่มา เว็บไซต์ สนผ.


Entries และ ข้อคิดเห็น feeds.